ประวัติและความเป็นมา
มูลนิธิไว.เอ็ม.ซี.เอ.กรุงเทพฯ สาขาพะเยา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2536 จากอดีตถึงปัจจุบันมูลนิธิฯ ได้พัฒนา โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัว ภาคเหนือ เพื่อป้องกันเด็กเข้ามาสู่กระบวนการเพศพาณิชย์ และการค้ามนุษย์ ได้ดำเนินงานพัฒนาทักษะชีวิต และให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาส โดยมีแรงจูงใจมาจากเด็กที่ถูกละเมิดทางเพศ ละเมิดสิทธิเด็ก และเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการเพศพาณิชย์ กระบวนการค้ามนุษย์ เนื่องจากขาดโอกาสทางการศึกษา ประกอบกับการแพร่ขยายของสังคม ที่บริโภคความต้องการมั่งมีในเศรษฐกิจ ทำให้เด็กบางส่วนต้องตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์
ติดต่อเรา
- Details
- Category: Phayao
สถานที่ติดต่อ
มูลนิธิไว.เอ็ม.ซี.เอ. กรุงเทพฯ (สาขาพะเยา)
เลขที่ 218 หมู่ 5 ต.บ้านปิน อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา 56120
โทรศัพท์ 054-457-191 โทรสาร 054-457-190
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.">
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.">
แผนที่มูลนิธิไว.เอ็ม.ซี.เอ.กรุงเทพฯ สาขาพะเยา
แขกผู้มาเยือน/Work Camp
- Details
- Category: Phayao
เป็นโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชีวิต และทักษะชีวิต เรียนรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ สิทธิเด็ก สถานการณ์การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กเชิงพาณิชย์ และการค้ามนุษย์ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนไทย และต่างประเทศ ทำให้กลุ่มเยาวชนได้มีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กนักเรียนทุนในบ้านพัก ได้เรียนรู้ทักษะชีวิตเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนได้เรียนรู้วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ
การป้องกันเพศพาณิชย์และการค้ามนุษย์
- Details
- Category: Phayao
โครงการเสริมสร้างเด็กและเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์จากเด็ก
(Commercial Sexual Exploitation of Children = CSEC) และการค้ามนุษย์
เป็นโครงการที่สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา ริเริ่มในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างความตระหนักในการป้องกันภัยทางเพศ และการค้ามนุษย์ ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
ส่งเสริมพัฒนาสภาเด็กบ้านพักและงานเครือข่ายเด็กและเยาวชน
ศูนย์บ้านพักไว.เอ็ม.ซี.เอ.พะเยา มีการบริหารจัดการบ้านพักที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยมีนโยบายการปกป้องคุ้มครองเด็ก และมีระบบการบริหารจัดการบ้านพักโดยสภาเด็กบ้านพัก ภายใต้การบริหารจัดการโดยคณะกรรมการสภาเด็กบ้านพัก ไว.เอ็ม.ซี.เอ.พะเยา นอกจากนี้ยังมีบทบาทหน้าที่ในการรณรงค์สร้างความตระหนักเรื่องสิทธิเด็ก อนามัยเจริญพันธุ์ การป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์จากเด็ก และการค้ามนุษย์ ผ่านสื่อหลากหลาย เช่น จัดรายการวิทยุชุมชน เอกสารแผ่นพับ บอร์ดนิทรรศการ จัดอบรมให้กับรุ่นน้องในโรงเรียน/ชุมชน และละครรณรงค์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการร่วมกันพัฒนาศักยภาพสภาเด็ก และเยาวชนจังหวัดพะเยาให้เข้มแข็ง ตลอดจนร่วมงานเครือข่ายเด็ก และเยาวชนในระดับภาค และระดับชาติอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินกิจกรรมของผู้นำสภาเด็กบ้านพัก ในการเผยแพร่รณรงค์ป้องกันภัยทางเพศ และการค้ามนุษย์ อย่างต่อเนื่อง
การทำงานเป็นแกนนำสภาเด็กบ้านพัก ในการเผยแพร่รณรงค์ ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก เป็นการเพิ่มพลังอำนาจทางด้านจิตใจ สังคม และมีต้นทุนชีวิตเพิ่มขึ้น ทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในสังคมเพื่อน ทำให้เด็กด้อยโอกาสกลับกลายเป็นผู้นำทางสังคม เช่น ผู้นำในบ้านพัก โรงเรียน ชุมชน อำเภอ จังหวัด ระดับประเทศ รวมถึงการได้รับเลือกให้เป็น คณะกรรมการเด็ก เยาวชน ในแถบเอเชียแปซิฟิก ในการป้องกันภัยทางเพศ เกิดการยอมรับมากขึ้น
มูลนิธิไว.เอ็ม.ซี.เอ.กรุงเทพฯ สาขาพะเยา มีโอกาสต้อนรับและถ่ายทอดประสบการณ์ บทเรียนที่ดีในการทำงานด้านงานป้องกันเด็กและเยาวชน และงานช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เป็นจำนวนหลายกลุ่ม หลากหลายสาขาอาชีพ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชนทั้งในและต่างประเทศ นับว่าเป็นงานที่ได้รับการสืบทอดเจตนารมณ์ขององค์กร และเป็นที่ยอมรับจากสาธารณชนในวงกว้างได้ เป็นแบบอย่างที่ดี
รายงานประจำปี 2555 (ศูนย์พะเยา)
- Details
- Category: Phayao
รายงานประจำปี 2555
มูลนิธิไว.เอ็ม.ซี.เอ.กรุงเทพฯ สาขาพะเยา
โครงการภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิไว.เอ็ม.ซี.เอ.กรุงเทพฯ สาขาพะเยา ประกอบด้วย
1. โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวภาคเหนือเพื่อป้องกันเด็กเข้าสู่กระบวนการเพศพาณิชย์ และการค้ามนุษย์ (Protect A Child)
เป้าหมายโครงการ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวภาคเหนือเพื่อป้องกันเด็กเข้าสู่กระบวนการเพศพาณิชย์ และกระบวนการค้ามนุษย์ มีพื้นที่ทำงานครอบคลุม 55 หมู่บ้านในเขต 3 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดพะเยา เชียงราย และเชียงใหม่ มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนงาน ดังนี้
แผนงานการสนับสนุนทุนการศึกษา
เด็กนักเรียนทุนที่เข้ามาอยู่ในศูนย์บ้านพักไว.เอ็ม.ซี.เอ.พะเยา เป็นเด็กที่ด้อยโอกาส เสี่ยงต่อการถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศและการค้ามนุษย์ ซึ่งได้รับแจ้งจากสมาชิกเครือข่ายสหวิชาชีพด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ประกอบไปด้วยครู ผู้นำชุมชน อาสาสมัครพัฒนาสังคม เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ตำรวจ เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองเด็ก และเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่เป้าหมาย
ในปีการศึกษา 2555 ทางโครงการได้สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับเด็กกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 250 ทุน ประกอบด้วย นักเรียนในบ้านพักจำนวน 39 ทุน นักเรียนทุนนอกบ้านพัก จำนวน 209 ทุน และนักเรียนทุนระดับอุดมศึกษาจำนวน 2 ทุน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ต่างก็ดีใจภาคภูมิใจ ที่ได้หล่อหลอมเด็กด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีจิตสาธารสู่สังคมต่อไป
“หนูศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครอบครัวของหนูมีทั้งหมด 3 คน คือ หนู และตายาย เนื่องจากแม่ของหนูได้เสียชีวิตแล้ว พ่อของหนูก็ทิ้งหนูไปมีครอบครัวใหม่ ทิ้งให้หนูต้องอยู่กับตาและยาย ซึ่งตาของหนูก็เป็นโรคหูตึง ส่วนยายของหนูก็ตาบอด คุณตาของหนูต้องเป็นแรงงานหลักเพียงคนเดียวของครอบครัว ซึ่งต้องหาเลี้ยงทั้งหนูและยาย
หนูถือว่าโชคดีมากๆ ที่ได้มีโอกาสเป็นเด็กนักเรียนทุนของมูลนิธิฯ ซึ่งทำให้หนูมีโอกาสได้เรียนหนังสืออย่างเต็มที่ ไม่ต้องเป็นกังวลเหมือนเดิม ว่าต้องดูแลตากับยาย แล้วต้องไปเรียนหนังสือ เพราะที่ผ่านมา หนูก็เรียนหนังสือไม่ค่อยทันเพื่อนๆ ด้วย
หนูเข้ามาอยู่ในศูนย์บ้านพักแห่งนี้หนูมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ หลายอย่าง เช่น วันคริสต์มาส และกิจกรรมที่พี่ๆ จัดขึ้น ทำให้หนูได้เรียนรู้ว่ายังมีผู้ใหญ่ใจดีอีกหลายๆ ท่านได้คอยให้การสนับสนุนและช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในภาวะที่ยากลำบากเหมือนกับหนู นอกจากกิจกรรมวันคริสต์มาสแล้ว หนูยังมีโอกาสได้ไปเที่ยวกิจกรรม วันเด็กที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการเดินทางออกจากต่างจังหวัดเป็นครั้งแรกในชีวิตของหนู หนูและเพื่อนสนุกและมีความสุขมากเลยค่ะ
ทุกวันนี้หนูมีเพื่อนๆ ในศูนย์บ้านพัก มีพี่ๆ เจ้าหน้าที่คอยเป็นกำลังใจให้หนู ทำให้หนูไม่ต้องคิดมากอีกต่อไป ซึ่งหนูจะต้องตั้งใจเรียนในอย่างเต็มที่เพื่อว่าวันหนึ่ง หนูจะกลับไปเลี้ยงดูและดูแลตากับยายของหนูอย่างดีที่สุดค่ะ”
แผนงานพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะชีวิต
นอกจากการสนับสนุนการศึกษาแล้ว ทางโครงการยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะองค์ความรู้และทักษะชีวิตให้กับเด็กทุนทุกกลุ่มทั้งในและนอกบ้านพักอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยเวทีอบรม สัมมนา ค่ายความรู้ ทัศนศึกษา ดูงาน ฯลฯ ตามลักษณะของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย มีเนื้อหาองค์ความรู้หลักในประเด็นสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ บทบาทหญิงชาย สิทธิเด็ก สิทธิมนุษยชน การป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์จากเด็ก (Commercial Sexual Exploitation of Children = CSEC) การป้องกันการค้ามนุษย์ ทักษะการเป็นผู้นำ (สร้างแกนนำเด็ก และเยาวชนในการเผยแพร่รณรงค์เรื่องการป้องกันเด็กเข้าสู่กระบวนการเพศพาณิชย์และการค้ามนุษย์ รณรงค์เรื่องสิทธิเด็ก สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และHIV/AIDS) ทักษะการป้องกันตนเองจากภัยทางเพศ โดยเด็กนักเรียนทุนในและนอกบ้านพัก ได้จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักอย่างต่อเนื่องในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ จัดรายการวิทยุชุมชน การแสดงละครรณรงค์ และการเป็นวิทยากรให้ความรู้กับนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เป็นต้น
ในขณะที่เด็กจบการศึกษาออกไปก็จะมีความพร้อมในการป้องกันตนเอง มีภูมิคุ้มกันตนเอง สามารถปรับตัวได้ในสังคมที่ตนเองดำรงชีวิตอยู่ และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคม ดีใจและภูมิใจที่มีส่วนสร้างคุณภาพชีวิตเด็กสู่สังคมอันดีงาม ซึ่งในขณะนี้เด็กนักเรียนทุนที่จบออกไปแล้วได้ร่วมกันจัดตั้ง “ชมรมศิษย์เก่าไว.เอ็ม.ซี.เอ.พะเยา เพื่อสังคม” ขึ้นเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเด็กในแต่ละรุ่น และร่วมกันทำประโยชน์เพื่อน้องๆ ที่อยู่ในศูนย์บ้านพักทุกปี
เด็กทุนบ้านพักได้เรียนและมีประสบการณ์ เรื่องการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งเน้นการผลิตอาหารปลอดภัยจากสารเคมี ทั้งนี้มีกิจกรรมการผลิตพืช ผักปลอดสารเคมี การเลี้ยงหมูป่า การเลี้ยงปลา และการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏาน ไว้บริโภคและจำหน่วยตลอดปีเด็กๆ ได้เรียนรู้การบริหารจัดการกองทุนหนุนเวียนต่อเนื่อง โดยมีกองทุนเพิ่มขึ้นทุกปี และถ้ามีนักศึกษาหรือแขกจากต่างประเทศมาเข้าค่ายที่ศูนย์บ้านพักเด็กก็มีโอกาสได้เป็นวิทยากร เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ทักษะชีวิต และประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น การทำงานเป็นทีม มีความสามัคคี มีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์บ้านพัก มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย ทำให้แขกผู้มาเยือนได้เรียนรู้จากเด็ก ๆ ซึ่งหลายคนบอกว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีที่ได้เห็นเด็ก ๆ มีความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ น่านำไปเป็นแบบอย่าง
2. โครงการพัฒนาเด็กภาคเหนือ (Northern Child Development Project)
แผนงานสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาส
เด็กนักเรียนทุนได้รับการสนับสนุนทางการศึกษา จำนวน 200 ทุน ภายใต้โครงการนี้ เด็กนักเรียนทุนได้รับการพัฒนาองค์ความรู้/ทักษะชีวิตมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เด็กนักเรียนทุนได้อาศัยอยู่กับผู้ปกครอง จึงได้มีการอบรมทักษะอาชีพทางเลือกให้กับผู้ปกครองซึ่งเน้นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายเพื่อให้ผู้ปกครองสามารถพึ่งตนเองได้ในอนาคต มีการอบรมการวิเคราะห์ รายรับ - รายจ่าย หลักการเก็บเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านเพื่อการพึ่งตนเอง อบรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน และการประกอบอาชีพทางเลือก ติดตามประเมินผลการประกอบอาชีพทางเลือก รวมทั้งสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง จำนวน 57 ครอบครัว ซึ่งในแต่ละครอบครัวต่างก็มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 5,000 – 10,000 บาท อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของสมาชิกครอบครัวที่ได้ร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน สร้างรายได้ สร้างความอบอุ่น
แผนงานพัฒนาทักษะองค์ความรู้ และทักษะชีวิต
เด็กนักเรียนทุนได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะชีวิต อย่างต่อเนื่อง พัฒนาความรู้ในเรื่องสิทธิเด็ก สิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ บทบาทหญิงชาย การป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์จากเด็ก (Commercial Sexual Exploitation of Children = CSEC) การป้องกันการค้ามนุษย์ ทักษะการเป็นผู้นำ ทักษะการป้องกันตนเองจากภัยทางเพศ โดยมีการจัดอบรม ทัศนศึกษา ค่ายความรู้ ให้กับนักเรียนทุน หลังจากนั้นเด็กนักเรียนทุนได้นำความรู้ที่ได้รับไปจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักอย่างต่อเนื่องในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การจัดบอร์ดนิทรรศการ เสียงตามสายในโรงเรียน และการเป็นวิทยากรให้ความรู้กับเพื่อนในโรงเรียน เป็นต้น
เด็กหลายคนที่ได้มีโอกาสไปค่ายที่จัดแถบชายทะเล ทำให้ได้เดินทางห่างไกลจากครอบครัว และได้สัมผัสน้ำทะเลเป็นครั้งแรกของชีวิต ถือว่าได้โอกาสที่ดี เป็นความทรงจำที่ดีที่มูลนิธิฯ หยิบยื่นให้
“ค่ายครอบครัว” เป็นกิจกรรมที่ทำมาอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก และผู้ปกครองได้ทำกิจกรรมสานสัมพันธ์ร่วมกัน และเกิดความเข้าใจ สร้างความอบอุ่นภายในครอบครัว รวมทั้งเสริมความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก/พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในครอบครัว รวมทั้งมีส่วนร่วมในการปกป้องครองคุ้มเด็กไม่ให้เสี่ยงต่อการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กและการค้ามนุษย์ อีกทั้งยังทำให้ช่องว่างระหว่างผู้ปกครองและเด็ก ๆ แคบลง เกิดความเข้าใจในความรู้สึกของกันและกัน มีความตระหนัก เห็นคุณค่าของความรัก ความผูกพันกันมากขึ้น
3. โครงการเสริมสร้างเด็กและเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์จากเด็ก (Commercial Sexual Exploitation of Children = CSEC) และการค้ามนุษย์
เป็นโครงการที่สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ริเริ่มในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักในการป้องกันภัยทางเพศ และการค้ามนุษย์ ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
แผนงานส่งเสริมพัฒนาสภาเด็กบ้านพักและงานเครือข่ายเด็กและเยาวชน
“โป๊ก โป๊ก โป๊ก” พวกเรามาร่วมกันทำกิจกรรมกันเถอะ!!! ถึงวันเสาร์แล้วเราต้องพัฒนาศูนย์บ้านพัก..... เป็นเสียงเคาะที่เป็นสัญญาณบอกให้พวกเรารวมตัวกัน หากมีการประชุมหรือทำกิจกรรมต่างๆ
ศูนย์บ้านพักไว.เอ็ม.ซี.เอ.พะเยา มีการบริหารจัดการบ้านพักที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยมีนโยบายการปกป้องคุ้มครองเด็ก และมีระบบการบริหารจัดการบ้านพักที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก และส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยโดยมีสภาเด็กบ้านพัก ภายใต้การบริหารจัดการโดยคณะกรรมการสภาเด็กบ้านพักไว.เอ็ม.ซี.เอ.พะเยา เด็กในบ้านพักทุกคนเป็นสมาชิกสภาเด็กบ้านพัก ซึ่งแต่ละคนเข้าเป็นสมาชิกของแต่ละฝ่ายภายใต้การบริหารของคณะกรรมการสภาเด็กบ้านพัก อันประกอบไปด้วย 5 ฝ่าย ดังนี้
1. ฝ่ายอาหารโภชนาการ
2. ฝ่ายพัฒนาการเกษตร
3. ฝ่ายดูแลบ้านพักรับรองแขก
4. ฝ่ายดูแลสถานที่
5. ฝ่ายกิจกรรมต้อนรับแขก
ภายใต้งานสภาเด็กบ้านพัก เด็กๆ ได้รับการฝึกทักษะและได้เรียนรู้ความเป็นประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังมีบทบาทหน้าที่ในการรณรงค์สร้างความตระหนักเรื่องสิทธิเด็ก อนามัยเจริญพันธุ์ การป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์จากเด็ก และการค้ามนุษย์ ผ่านสื่อหลากหลาย เช่น การจัดรายการวิทยุชุมชน จัดอบรมให้กับรุ่นน้องในโรงเรียน/ชุมชน และการแสดงละครรณรงค์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการร่วมกันพัฒนาศักยภาพสภาเด็ก และเยาวชนจังหวัดพะเยาให้เข้มแข็ง ตลอดจนร่วมงานเครือข่ายเด็ก และเยาวชนในระดับจังหวัดและระดับภาค อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้สังคมวงกว้าง ได้มีการสะสมประสบการณ์ในการคิดสร้างสรรค์ มีความกล้าแสดงออกในเวทีที่มีผู้คนหลากหลาย ซึ่งบางคนได้รับเลือกเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ
แผนงานพัฒนาแกนนำเยาวชนในโรงเรียนรณรงค์ต้านภัยจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก
เป็นโครงการเสริมองค์ความรู้ให้กับแกนนำเยาวชนในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 - 5 จำนวน 9 โรงเรียน ในเรื่องสถานการณ์ภัยจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งได้ตระหนักถึงภัย และมีส่วนร่วมในการช่วยกันป้องกันภัยจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนนำความรู้ที่ได้รับไปจัดทำโครงการเผยแพร่รณรงค์ในโรงเรียนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำแผ่นพับ การจัดบอร์ดนิทรรศการ การเดินขบวนรณรงค์ภัยทางเพศ และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กในเชิงพาณิชย์ ในช่วงวันวาเลนไทน์ ที่โรงเรียน และตลาดนัดในชุมชน การอบรมให้ความรู้กับรุ่นน้องในโรงเรียน ฯลฯ
4. โครงการส่งเสริมอาชีพทางเลือกเพื่อการพึ่งตนเอง
เป็นโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ปกครองของเด็กนักเรียนทุน และชาวบ้านทั่วไปในชุมชนโดยสนับสนุนทุนในพื้นที่ดำเนินงานของโครงการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับกลุ่มเป้าหมาย และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชาวบ้านในการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังป้องกันปัญหาเด็กและสตรีที่เสี่ยงต่อการ ถูกหลอกเข้าสู่กระบวนการเพศพาณิชย์ และการค้ามนุษย์ และได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิไว.เอ็ม.ซี.เอ.กรุงเทพฯ ประกอบด้วยโครงการต่างๆ ดังนี้
แผนงานส่งเสริมอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมชนเผ่า
เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้กับกลุ่มสตรีแม่บ้าน เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ และพื้นราบ ได้มีทักษะอาชีพ และมีรายได้เสริม ปัจจุบัน มีจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านชนเผ่าม้ง อ.เชียงคำ 2 กลุ่ม กลุ่มแม่บ้านชนเผ่าม้ง และพื้นราบ อ.ดอกคำใต้ 2 กลุ่ม และมีชาวบ้านในแต่ละพื้นที่สนใจขอเข้าร่วมโครงการอีกจำนวนมาก แต่ทางโครงการมีข้อจำกัดเรื่องยอดการสั่งซื้อไม่ต่อเนื่อง ยังต้องการขยายตลาดเพิ่มทั้งใน และต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องค่าวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตมีราคาต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมชนเผ่าจึงมีราคาสูงขึ้นตามลำดับ
แผนงานพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อการพึ่งตนเอง
เป็นโครงการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการผลิตพืชอาหารปลอดภัย ลดละเลิกการใช้สารเคมี ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และประกอบอาชีพทางเลือกที่เหมาะสมกับตัวเองและครอบครัวเพื่อการพึ่งพาตนเอง โดยมีการอบรมให้ความรู้ และศึกษาดูงาน การทำเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่ต่างๆ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ และประกอบอาชีพทางเลือกต่างๆ โดยใน พ.ศ.2555 มีสมาชิกที่ผ่านการอบรมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน และอาชีพทางเลือกเพื่อการพึ่งตนเอง ทั้งหมด 108 คน ในพื้นที่ตำบล ตำบลบ้านปิน ตำบลหนองหล่ม ตำบลคือเวียงตำบลดอกคำใต้ ตำบลสว่างอารมณ์ ตำบลสันโค้ง ตำบลป่าซาง อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา และต.จุน ต.ลอ ต.ทุ่งรวงทอง อ.จุน จ.พะเยา โดยปัจจุบันได้ประกอบอาชีพทางเลือกอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การปลูกพืชผักปลอดสารพิษในช่วงฤดูที่เหมาะสม การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏาน การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เช่น เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ และเลี้ยงวัว นอกจากนี้ยังได้ตัดเย็บเสื้อผ้า/เย็บหมวก และค้าขาย เป็นต้น
เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพดังกล่าว ทำให้มีความรู้ด้านการทำเกษตรกรรมยั่งยืนและการประกอบอาชีพทางเลือกเพื่อการพึ่งตนเอง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีรายได้ ประกอบอาชีพอยู่กับครอบครัว ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่น ทำให้มีกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกครอบครัว
ซึ่งทางมูลนิธิฯ มีความประสงค์ที่จะให้ครอบครัวเด็กได้พัฒนาอาชีพเพื่อการพึ่งตนเอง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้ลูกหลานได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดี มีครอบครัวที่อบอุ่น สอนให้เด็กเป็นคนดี มีจิตอาสา เพื่อสังคมต่อไป
แผนงานสนับสนุนกองทุนหมุนเวียนเพื่อการพึ่งตนเอง
กองทุนหมุนเวียนเป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะวิถีคิดเพื่อการพึ่งตนเองเป็นการ สนับสนุนในเรื่องของเงินทุนประกอบอาชีพ สำหรับผู้ปกครองและครอบครัวของเด็กนักเรียนทุนฯ ที่มีความสนใจ และพร้อมที่จะประกอบอาชีพทางเลือกที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของตนเอง ปัจจุบันมีครอบครัวของเด็กนักเรียนทุนฯ และกลุ่มหญิงคืนถิ่นที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่ได้รับการสนับสนุนกองทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ รวมทั้งสิ้น 183 ครอบครัว ทั้งนี้เฉลี่ยมีรายได้ เดือนละประมาณ 5,000 – 10,000 บาท และกองทุนนี้ยังอยู่อย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ทุกคนเคารพกติกาการหมุนเวียนคืนทุนที่เป็นระบบ
5. โครงการทุนการศึกษา “เด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น” จังหวัดพะเยา
การดำเนินงานโครงการทุนการศึกษาสำหรับเด็กลูกครึ่งไทย – ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาระยะสั้น โดยให้ทางมูลนิธิไว.เอ็ม.ซี.เอ. กรุงเทพฯ สาขาพะเยา เป็นผู้ดำเนินการในการจัดสรรทุนตามเงื่อนไขของมูลนิธิฯ โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กนักเรียน นักศึกษา ชาย หรือหญิง ที่เป็นลูกครึ่ง ไทย-ญี่ปุ่น มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดพะเยา กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาและปวส. และเป็นเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่ประสบปัญหาภาวะยากลำบาก เช่น พ่อหรือแม่เสียชีวิต พ่อแม่แยกทางกัน พ่อหรือแม่ไม่ดูแล พักอาศัยอยู่กับญาติ และครอบครัวมีฐานะยากจน เป็นต้น ปัจจุบันมีครอบครัวเด็กลูกครึ่งไทย - ญี่ปุ่น ที่ได้รับการสนับสนุนต่อเนื่อง จำนวน 22 คน ซึ่งทางมูลนิธิฯ ได้ติดตามความก้าวหน้าของเด็กอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามพัฒนาการของเด็กๆ และหนุนเสริมกำลังใจให้เด็กได้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีการใช้ชีวิตในสังคมตามปกติสุข
6. โครงการประสานความร่วมมือและเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายสหวิชาชีพ
ทางโครงการฯ ได้ดำเนินงานพัฒนางานเครือข่ายสหวิชาชีพ และประสานความร่วมมือการป้องกันและช่วยเหลือผู้เสียหายจากกระบวนค้ามนุษย์ และช่วยเหลือเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ เด็กถูกละเมิดสิทธิเด็กมาอย่างต่อเนื่องโดยดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ในระดับจังหวัด อำเภอ และระดับชุมชน เป็นการดำเนินงานในรูปแบบทีมสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีทั้งแผนงานป้องกัน และช่วยเหลือทั้งในรูปของการประสานงานการดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่งเสริมอาชีพ และนำส่งผู้เสียหายเข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟู
เจ้าหน้าที่มีบทบาทในรูปของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล โดยมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง ตลอดปี พ.ศ. 2555 จำนวน 7 ครั้ง และเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการป้องกันและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ อบรมให้ความรู้ กระบวนการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ให้กับทีมสหวิชาชีพจังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย
นอกจากบทบาทหลักดังกล่าวแล้ว ปีนี้ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาให้เป็นคณะทำงานด้านเด็ก เยาวชน และสตรีจังหวัดพะเยา ในวันที่ 12 มีนาคม 2555 และได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี ให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดพะเยา ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2555
ในปี 2555 ได้ร่วมงานกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) จัดทำโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับทีมสหวิชาชีพ ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ เช่น อบรมความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ สำรวจข้อมูลผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่กลับมาจากต่างประเทศ มีทั้งสิ้น 64 ราย รวมทั้งได้อบรมทักษะการให้คำปรึกษาแก่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เพื่อเสริมสร้างพลังใจ ในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข
7. โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและพัฒนาทักษะชีวิต ระหว่างเด็ก-เยาวชนไทย กับเยาวชนต่างประเทศ
เป็นโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชีวิต และทักษะชีวิต เรียนรู้ในเรื่องของอนามัยเจริญพันธุ์ สิทธิเด็ก สถานการณ์การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กเชิงพาณิชย์ และการค้ามนุษย์ และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนไทย-ญี่ปุ่น และให้กลุ่มเยาวชนได้เรียนรู้ทักษะชีวิต เพิ่มมากขึ้น เรียนรู้วัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ ประเพณี และวัฒนธรรม ซึ่งปีพ.ศ.2555 มีกลุ่มเยาวชนต่างประเทศ มาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จำนวน 7 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก และเยาวชน จากประเทศญี่ปุ่นที่เป็นเครือข่าย ของ Y.M.C.A. เช่น Yokohama YMCA, Sendai YMCA, Hirosaki University, Hiroshima University, Chuo University, Meiji Gakuin University, Seinan Gakuin University เป็นต้น
ในโอกาสนี้ขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนมูลนิธิฯ ทั้งในรูปแบบของเงินทุน สิ่งของ อาหารเสริมต่างๆ ที่มีความห่วงใยและมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวด้วยดีเสมอมา
พัฒนาอาชีพเด็กและครอบครัวภาคเหนือ
- Details
- Category: Phayao
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก และครอบครัวภาคเหนือ
เพื่อป้องกันเด็กเข้าสู่กระบวนการเพศพาณิชย์ และการค้ามนุษย์ (Protect A Child)
เป้าหมายโครงการ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวเพื่อป้องกันเด็กเข้าสู่กระบวนการเพศพาณิชย์ และกระบวนการค้ามนุษย์ มีพื้นที่ดำเนินงานครอบคลุมจังหวัดพะเยา และเชียงราย ซึ่งมีแผนงานดังนี้
แผนงานการสนับสนุนทุนการศึกษา
สนับสนุนโอกาสทางการศึกษาให้เด็กขาดโอกาสทั้งในและนอกบ้านพัก
แผนงานการพัฒนาทักษะองค์ความรู้และทักษะชีวิต
นอกจากสนับสนุนทุนการศึกษาแล้ว ทางโครงการยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะองค์ความรู้และทักษะชีวิตให้กับเด็กนักเรียนทุนทุกกลุ่ม ทั้งในและนอกบ้านพัก ประกอบด้วยเวทีอบรม สัมมนา ค่ายความรู้ ทัศนศึกษา ดูงาน ฯลฯ ตามลักษณะของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย มีเนื้อหาองค์ความรู้หลักในประเด็นสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ บทบาทหญิงชาย สิทธิเด็ก สิทธิมนุษยชน การป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์จากเด็ก (Commercial Sexual Exploitation of Children = CSEC) การป้องกันการค้ามนุษย์ ทักษะการเป็นผู้นำ (สร้างแกนนำเด็ก และเยาวชน ในการเผยแพร่รณรงค์เรื่อง การป้องกันเด็กเข้าสู่กระบวนการเพศพาณิชย์ และการค้ามนุษย์ รณรงค์เรื่องสิทธิเด็ก สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ HIV/AIDS) ทักษะการป้องกันตนเองจากภัยทางเพศ โดยเด็กนักเรียนทุนในและนอกบ้านพัก ได้จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักอย่างต่อเนื่อง ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การจัดบอร์ดนิทรรศการ เสียงตามสายในโรงเรียน
จัดรายการวิทยุชุมชน ละครรณรงค์ และการเป็นวิทยากรให้ความรู้กับนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา เป็นต้น
รู้จักศูนย์ฯ พะเยา
- Details
- Category: Phayao
มูลนิธิไว.เอ็ม.ซี.เอ.กรุงเทพฯ สาขาพะเยา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2536 จากอดีตถึงปัจจุบันมูลนิธิฯ ได้พัฒนาโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัว ภาคเหนือ เพื่อป้องกันเด็กเข้ามาสู่กระบวนการเพศพาณิชย์ และการค้ามนุษย์ได้ดำเนินงานพัฒนาทักษะชีวิต และให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาส โดยมีแรงจูงใจมาจากเด็กที่ถูกละเมิดทางเพศ ละเมิดสิทธิเด็ก และเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการเพศพาณิชย์ กระบวนการค้ามนุษย์ เนื่องจากขาดโอกาสทางการศึกษา ประกอบกับการแพร่ขยายของสังคม ที่บริโภคความต้องการมั่งมีในเศรษฐกิจ ทำให้เด็กบางส่วนต้องตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์
เด็กสาวแรกรุ่นในบางจังหวัดในภาคเหนือ ยังเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ เพราะความยากจนของครอบครัว ที่มาจากสาเหตุของความล้มเหลวของภาคเกษตรกรรม จึงทำให้มีหนี้สินจำนวนมาก และการรับค่านิยมบริโภคสมัยใหม่ ซึ่งยังมีเด็กจำนวนมาก ที่ยังถูกกำหนดชะตาชีวิตของตัวเองโดยพ่อแม่ของพวกเขาเหล่านั้น ซึ่งเกิดจากปัญหาด้านภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพในสังคม จึงถูกชักจูงโดยการยื่นข้อเสนอเป็นเงินก้อนใหญ่จำนวนหนึ่ง โดยผ่านนายหน้า ผู้ประกอบการค้าประเวณี และกระบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องจูงใจให้กับครอบครัว และบ่อยครั้งที่ต้องอดมื้อ กินมื้อ และขาดทุนทรัพย์ในการเลี้ยงดูบุตรหลาน
ดังนั้นมูลนิธิไว.เอ็ม.ซี.เอ.กรุงเทพฯ สาขาพะเยา ได้ตระหนักถึงความสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจ สำหรับชุมชนให้เกิดความตระหนักถึงสภาพปัญหาของสังคม และสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กสาว ที่มีความเสี่ยงเหล่านั้น
ณ ปัจจุบัน มูลนิธิไว.เอ็ม.ซี.เอ.กรุงเทพฯ สาขาพะเยา ยังคงดำเนินงานพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยได้เน้นเรื่องการพัฒนาระบบการศึกษา เปิดโอกาสทางด้านการศึกษาสำหรับเด็ก และเยาวชน ในการพัฒนาทักษะชีวิตสร้างภูมิคุ้มกัน โดยการเสริมความรู้ เรื่องสิทธิเด็ก สิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ การยุติความรุนแรง เรียนรู้เรื่องบทบาทชายหญิง เรียนรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านการค้ามนุษย์ และฝึกแกนนำเด็กเยาวชนมีส่วนร่วมรณรงค์ป้องกันภัยทางเพศ และการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมคนทำงาน เพื่อช่วยเหลือ และให้คำปรึกษา สำหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เพื่อเป็นการดึงการมีส่วนร่วมจากผู้นำ ครู และอาสาสมัครในชุมชน เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายสหวิชาชีพ ในการป้องกันการค้ามนุษย์ และยังมีการส่งเสริมอาชีพทางเลือกเพื่อเสริมรายได้แก่เด็ก ผู้ปกครองเด็กนักเรียนทุน และผู้หญิงกลุ่มเสี่ยงยังเป็นกิจกรรมที่ต้องดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งเสริม การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงสัตว์ การเพาะเห็ดนางฟ้า โครงการพัฒนาการแปรรูปอาหาร /สมุนไพร และงานหัตถกรรมชนเผ่า เพื่อการพึ่งตนเองในระยะยาว
ทางเจ้าหน้าที่ได้จัดอบรมหลักสูตรการป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก และการป้องกันการค้ามนุษย์ เพื่อให้เด็กมีภูมิคุ้มกันตนเอง และเด็กได้เข้าร่วมอบรมการเป็นผู้นำรณรงค์ป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้มีมูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก (ECPAT FOUNDATION) เป็นผู้จัดการอบรมในครั้งนี้ด้วย
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก และครอบครัวภาคเหนือ
เพื่อป้องกันเด็กเข้าสู่กระบวนการเพศพาณิชย์ และการค้ามนุษย์ (Protect A Child)
เป้าหมายโครงการ คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวเพื่อป้องกันเด็กเข้าสู่กระบวนการเพศพาณิชย์ และกระบวนการค้ามนุษย์ มีพื้นที่ดำเนินงานครอบคลุมจังหวัดพะเยา และเชียงราย ซึ่งมีแผนงานดังนี้
แผนงานการสนับสนุนทุนการศึกษา
สนับสนุนโอกาสทางการศึกษาให้เด็กขาดโอกาสทั้งในและนอกบ้านพัก
แผนงานการพัฒนาทักษะองค์ความรู้และทักษะชีวิต
นอกจากสนับสนุนทุนการศึกษาแล้ว ทางโครงการยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะองค์ความรู้และทักษะชีวิตให้กับเด็กนักเรียนทุนทุกกลุ่ม ทั้งในและนอกบ้านพัก ประกอบด้วยเวทีอบรม สัมมนา ค่ายความรู้ ทัศนศึกษา ดูงาน ฯลฯ ตามลักษณะของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย มีเนื้อหาองค์ความรู้หลักในประเด็นสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ บทบาทหญิงชาย สิทธิเด็ก สิทธิมนุษยชน การป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์จากเด็ก (Commercial Sexual Exploitation of Children = CSEC) การป้องกันการค้ามนุษย์ ทักษะการเป็นผู้นำ (สร้างแกนนำเด็ก และเยาวชน ในการเผยแพร่รณรงค์เรื่อง การป้องกันเด็กเข้าสู่กระบวนการเพศพาณิชย์ และการค้ามนุษย์ รณรงค์เรื่องสิทธิเด็ก สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ HIV/AIDS) ทักษะการป้องกันตนเองจากภัยทางเพศ โดยเด็กนักเรียนทุนในและนอกบ้านพัก ได้จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักอย่างต่อเนื่อง ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การจัดบอร์ดนิทรรศการ เสียงตามสายในโรงเรียน
จัดรายการวิทยุชุมชน ละครรณรงค์ และการเป็นวิทยากรให้ความรู้กับนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา เป็นต้น
โครงการเสริมสร้างเด็กและเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์จากเด็ก (Commercial Sexual Exploitation of Children = CSEC) และการค้ามนุษย์
เป็นโครงการที่สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา ริเริ่มในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างความตระหนักในการป้องกันภัยทางเพศ และการค้ามนุษย์ ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
ส่งเสริมพัฒนาสภาเด็กบ้านพักและงานเครือข่ายเด็กและเยาวชน
ศูนย์บ้านพักไว.เอ็ม.ซี.เอ.พะเยา มีการบริหารจัดการบ้านพักที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยมีนโยบายการปกป้องคุ้มครองเด็ก และมีระบบการบริหารจัดการบ้านพักโดยสภาเด็กบ้านพัก ภายใต้การบริหารจัดการโดยคณะกรรมการสภาเด็กบ้านพัก ไว.เอ็ม.ซี.เอ.พะเยา นอกจากนี้ยังมีบทบาทหน้าที่ในการรณรงค์สร้างความตระหนักเรื่องสิทธิเด็ก อนามัยเจริญพันธุ์ การป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์จากเด็ก และการค้ามนุษย์ ผ่านสื่อหลากหลาย เช่น จัดรายการวิทยุชุมชน เอกสารแผ่นพับ บอร์ดนิทรรศการ จัดอบรมให้กับรุ่นน้องในโรงเรียน/ชุมชน และละครรณรงค์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการร่วมกันพัฒนาศักยภาพสภาเด็ก และเยาวชนจังหวัดพะเยาให้เข้มแข็ง ตลอดจนร่วมงานเครือข่ายเด็ก และเยาวชนในระดับภาค และระดับชาติอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินกิจกรรมของผู้นำสภาเด็กบ้านพัก ในการเผยแพร่รณรงค์ป้องกันภัยทางเพศ และการค้ามนุษย์ อย่างต่อเนื่อง
การทำงานเป็นแกนนำสภาเด็กบ้านพัก ในการเผยแพร่รณรงค์ ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก เป็นการเพิ่มพลังอำนาจทางด้านจิตใจ สังคม และมีต้นทุนชีวิตเพิ่มขึ้น ทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในสังคมเพื่อน ทำให้เด็กด้อยโอกาสกลับกลายเป็นผู้นำทางสังคม เช่น ผู้นำในบ้านพัก โรงเรียน ชุมชน อำเภอ จังหวัด ระดับประเทศ รวมถึงการได้รับเลือกให้เป็น คณะกรรมการเด็ก เยาวชน ในแถบเอเชียแปซิฟิก ในการป้องกันภัยทางเพศ เกิดการยอมรับมากขึ้น
มูลนิธิไว.เอ็ม.ซี.เอ.กรุงเทพฯ สาขาพะเยา มีโอกาสต้อนรับและถ่ายทอดประสบการณ์ บทเรียนที่ดีในการทำงานด้านงานป้องกันเด็กและเยาวชน และงานช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เป็นจำนวนหลายกลุ่ม หลากหลายสาขาอาชีพ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชนทั้งในและต่างประเทศ นับว่าเป็นงานที่ได้รับการสืบทอดเจตนารมณ์ขององค์กร และเป็นที่ยอมรับจากสาธารณชนในวงกว้างได้ เป็นแบบอย่างที่ดี
โครงการประสานความร่วมมือและเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายสหวิชาชีพ
ทางโครงการฯ ได้ดำเนินการพัฒนางานเครือข่ายและประสานความร่วมมือการป้องกันและช่วยเหลือผู้เสียหายจากกระบวนการค้ามนุษย์ และช่วยเหลือเด็กถูกละเมิดทางเพศ เด็กถูกละเมิดสิทธิเด็ก มาอย่างต่อเนื่องโดยดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ในระดับจังหวัด อำเภอ และระดับชุมชน เป็นการดำเนินงานในรูปแบบทีมสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรพัฒนาเอกชน มีทั้งแผนงานป้องกัน และช่วยเหลือทั้งในรูปของการดำเนินคดีตามกระบวนการทางกฎหมาย ส่งเสริมอาชีพ และนำส่งผู้เสียหายเข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟู ซึ่งมีการป้องกันและช่วยเหลือทั้งเด็ก ผู้หญิงที่อยู่ในประเทศ และกลับมาจากต่างประเทศ
เป็นโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ปกครองของเด็กนักเรียนทุน และชาวบ้านทั่วไปในชุมชนโดยบางส่วนได้รับการสนับสนุนจากคุณ David Hodgetts ในพื้นที่ดำเนินงานของโครงการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ให้กับกลุ่มเป้าหมายและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มองค์กรชาวบ้าน ในการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังป้องกันปัญหาเด็กและสตรีที่เสี่ยงต่อการถูกหลอกเข้าสู่กระบวนการเพศพาณิชย์และการค้ามนุษย์ ประกอบด้วยโครงการย่อยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. โครงการส่งเสริมอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมชนเผ่า
เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้กับกลุ่มสตรีแม่บ้านและเยาวชนทั้งกลุ่มชาติพันธุ์และพื้นราบ ได้มีทักษะอาชีพและมีรายได้เสริม และมีชาวบ้านในแต่ละพื้นที่สนใจขอเข้าร่วมโครงการอีกจำนวนมาก แต่ทางโครงการมีข้อจำกัดเรื่องยอดการสั่งซื้อไม่ต่อเนื่อง ยังต้องการการขยายตลาดเพิ่ม ทั้งในและต่างประเทศ
2. โครงการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อการพึ่งตนเอง
เป็นโครงการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการผลิตพืชอาหารที่ปลอดภัย โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริฯ ในพื้นที่ตำบลบ้านถ้ำ บ้านปิน และหนองหล่ม อำเภอดอกคำใต้ และอำเภอจุน จ.พะเยา
ทั้งนี้มุ่งเน้นการผลิตพืชผักที่ปลอดภัยจากสารเคมี โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ และยึดหลัก ผลิตเพื่อบริโภค เหลือจำหน่ายเป็นรายได้
เป็นโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชีวิต และทักษะชีวิต เรียนรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ สิทธิเด็ก สถานการณ์การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กเชิงพาณิชย์ และการค้ามนุษย์ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนไทย และต่างประเทศ ทำให้กลุ่มเยาวชนได้มีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กนักเรียนทุนในบ้านพัก ได้เรียนรู้ทักษะชีวิตเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนได้เรียนรู้วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ
สถานที่ติดต่อ
มูลนิธิไว.เอ็ม.ซี.เอ. กรุงเทพฯ (สาขาพะเยา)
เลขที่ 218 หมู่ 5 ต.บ้านปิน อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา 56120
โทรศัพท์ 054-457-191 โทรสาร 054-457-190
อีเมล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.